รว“ใครอยากเป็นเศรษฐี ฉันนะสิ ๆ”
แต่เมื่อเรายังเป็นไม่ได้ ก็คงได้แต่ร้องเพลง หรือเลขมุขตลกกับเพื่อนนี้ไปก่อน และได้แต่ฝันว่าสักวันหนึ่งเราจะร่ำรวยได้สักเศษเสี้ยวหนึ่งของ “50 อภิมหาเศรษฐีไทยปี 2021” ซึ่งทางนิตยสาร ฟอร์บส์ ไทยแลนด์ แมกาซีน (Forbes Thailand Magazine) ได้จัดอันดับและเผยแพร่ออกมาล่าสุด เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับอภิมหาเศรษฐีไทย ที่มีรายชื่อติด 10 อันดับแรก ประจำปี 2021 จะมีใครบ้าง ไปดูกัน!
1. ตระกูลเจียรวนนท์
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.48 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 2.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8.92 แสนล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 0.29 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.6 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: อาหาร (เครือเจริญโภคภัณฑ์)
เรื่องน่ารู้ของ “ตระกูลเจียรวนนท์”
ความร่ำรวยที่คนไทยและชาวโลกได้ประจักษ์มาจากน้ำพักน้ำแรงของ 4 พี่น้องเจียรวนนท์ ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับตระกูลจากอาณาจักร “เครือเจริญโภคภัณฑ์” หรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อย่อว่า “CP” ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารสัตว์และปศุสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลก และในเดือนมีนาคม 2020 กลุ่ม CP ก็ประสบความสำเร็จในการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย มาด้วยเงินมูลค่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นของขวัญวันเกิดฉลองอายุ 81 ปี ของเจ้าสัวค้าปลีกรายนี้เลยก็ว่าได้
2. เฉลิม อยู่วิทยา
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 2.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7.69 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.02 แสนล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.67 แสนล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: เครื่องดื่ม (กระทิงแดง)
เรื่องน่ารู้ของ “เฉลิม อยู่วิทยา”
เฉลิม อยู่วิทยา ผู้นำตระกูลอยู่วิทยา เป็นเจ้าของสัดส่วนหุ้นรวมกัน 51% ใน บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด (Red Bull) เครื่องดื่มชูกำลังที่มีแบรนด์เป็นเอกลักษณ์และโด่งดังไปทั่วโลก ขายได้ 7.9 พันล้านกระป๋องใน 171 ประเทศในปี 2020 ปัจจุบันอาณาจักรเครื่องดื่มชูกำลังนี้ ดำรงอยู่มานานกว่า 60 ปีแล้ว และเมื่อเดือนธันวาคมปี 2020 “Red Bull Thailand” ชนะคดีการแข่งขันเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Red Bull ในประเทศจีน หลังต่อสู้มาหลายปี
3. เจริญ สิริวัฒนภักดี
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 1.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.98 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 9.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.43 แสนล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.5 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: เครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ (ไทยเบฟเวอเรจ)
เรื่องน่ารู้ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี“
เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นลูกชายของพ่อค้าแม่ค้าข้างถนนในกรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารจัดการ “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ” ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งโด่งดังจากแบรนด์ “เบียร์ช้าง” อีกทั้ง ยังมีสินทรัพย์ขนาดใหญ่ ๆ ในครอบครองอื่น ๆ ได้แก่ Fraser & Neave ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์
4. ตระกูลจิราธิวัฒน์
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 1.16 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.64 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.1 แสนล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ 5.4 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: ค้าปลีก (กลุ่มเซนทรัล)
เรื่องน่ารู้ของ “ตระกูลจิราธิวัฒน์“
ตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นเจ้าของและบริหารจัดการ “Central Group” ซึ่งเป็นผู้พัฒนาห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ นำทีมบริหารโดย ทศ จิราธิวัฒน์ หลานชายของผู้ก่อตั้งบริษัท ปัจจุบัน Central Retail มีร้านค้ามากกว่า 2,115 แห่ง ครอบคลุมอาหาร แฟชั่น อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้างทั่วประเทศไทย อีกทั้ง ยังมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของตัวเองชื่อว่า “JD Central” เป็นบริษัทร่วมทุนมูลค่า 560 ล้านดอลลาร์ กับ JD.com ของจีน
5. สารัชถ์ รัตนาวะดี
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.79 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.22 แสนล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.7 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: พลังงาน (กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์)
เรื่องน่ารู้ของ “สารัชถ์ รัตนาวะดี”
สารัชถ์ รัตนาวะดี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (Gulf Energy Development Public Company Limited)” หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และได้นำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 2017 โดยระดมทุนได้มากกว่า 700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการเสนอขายหุ้น IPO ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในรอบทศวรรษ และในเดือนเมษายนปี 2020 สารัชถ์ ได้เสนอเงินจำนวน 17 พันล้านดอลลาร์ ยื่นคำเสนอซื้อหุ้น บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (InTouch Holdings) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (Advanced Info Service (AIS)) ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมไร้สาย
สำหรับบรรดามหาเศรษฐีใน 5 อันดับแรก รายได้ที่เพิ่มขึ้นของมหาเศรษฐีเหล่านี้ คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความมั่งคั่งทั้งหมดที่บรรดามหาเศรษฐี 50 อันดับแรกของประเทศไทยสร้างขึ้นในปีนี้ และที่สำคัญโฉมหน้าของมหาเศรษฐี 5 อันดับแรกยังคงเหมือนกับปีที่ผ่านมา
6. ตระกูลโอสถานุเคราะห์
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: ขึ้นจากอันดับ 8
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.09 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 3.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.8 หมื่นล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.10 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: เครื่องดื่ม (โอสถสภา)
เรื่องน่ารู้ของ “ตระกูลโอสถานุเคราะห์”
ตระกูลโอสถานุเคราะห์ เป็นเจ้าของ “โอสถสภา” ที่มีอายุ 130 ปี เป็นหนึ่งในบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง M-150 ยอดนิยม และเขายังเป็นนักสะสมงานศิลปะตัวยง และได้สร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในกรุงเทพฯ อีกด้วย
7. สมโภชน์ อาหุนัย
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: ขึ้นจากอันดับ 18
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.03 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5.72 หมื่นล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.58 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: พลังงาน (พลังงานบริสุทธิ์)
เรื่องน่ารู้ของ “สมโภชน์ อาหุนัย“
สมโภชน์ อาหุนัย เป็นอดีตผู้ค้าหลักทรัพย์ และเริ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน “Energy Absolute” ในปี 2006 ก่อนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2013 และเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญกับครอบครัว
8. นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: ขึ้นจากอันดับ 11
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.02 แสนล้านบาท
ปี 2020 มี 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8.49 หมื่นล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้นจากปีที่แล้ว 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.71 หมื่นล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: การแพทย์ (เครือโรงพยาบาล BDMS)
เรื่องน่ารู้ของ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ”
ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นอดีตศัลยแพทย์ และผู้ร่วมก่อตั้ง “Bangkok Dusit Medical Services” หรือ BDMS ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปี 1972 และบริษัทเพื่อดูแลสุขภาพสุดหรูนี้ มีมูลค่า 370 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงตัวโรงแรมโมเวนพิค 290 ห้อง และประเสริฐยังเป็นเจ้าของและบริหารสายการบินระดับภูมิภาค อย่าง “บางกอกแอร์เวย์ส” ซึ่งเปิดตัวในปี 2014
9. ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: ลงจากอันดับ 7
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1 แสน 400 ล้านบาท
ปี 2020 มี 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 97,340 ล้านบาท
ทำให้ปีนี้ มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้น 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.06 พันล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: สีทาอาคาร (กลุ่ม TOA)
เรื่องน่ารู้ของ “ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ“
ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ เป็นผู้บริหารจัดการ “TOA Paint (Thailand)” บริษัทสีรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบัน TOA Paint มีโรงงานสามแห่งในประเทศไทย รวมทั้งโรงงานในเวียดนาม ลาว เมียนมา มาเลเซีย กัมพูชา และอินโดนีเซีย
10. ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และดาวนภา เพชรอำไพ
การเปลี่ยนแปลงอันดับ: อันดับคงที่
มูลค่าทรัพย์สิน:
ปี 2021 มี 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9.42 หมื่นล้านบาท
ปี 2020 มี 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8.66 หมื่นล้านบาท
ทำให้ปีนี้มีความมั่งคั่ง “เพิ่มขึ้น” ขึ้น 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7.6 พันล้านบาท จากปีที่แล้ว
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: การเงิน (เมืองไทย แคปปิตอล)
เรื่องน่ารู้ของ “ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และดาวนภา เพชรอำไภ”
สองสามีและภรรยา “ชูชาติ เพ็ชรอําไพ” และ ดาวนภา เพชรอำไพ ลาออกจากงานธนาคาร เพื่อก่อตั้งบริษัท “เมืองไทยลีสซิ่ง” ในปี 1992 และขยายบริษัทให้กลายเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีสาขากว่า 5,000 แห่ง ทั้งคู่ได้จดทะเบียนบริษัทของพวกเขาในปี 2014 และเปลี่ยนชื่อเป็น “Muangthai Capital” ในปี 2018
สำหรับทำเนียบ 50 อันดับ มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2021 มีเศรษฐีหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 3 ราย ได้แก่ สมชาย รัตนภูมิภิญโญ บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจอาหาร ไวยวุฒิ สินเจริญกุล เจ้าของกลุ่มศรีตรัง ยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดในโลก และอดิศักดิ์ และ นาตยา ตั้งมิตรประชา จาก Dohome
นิตยสาร ฟอร์บส์ ไทยแลนด์ ยังเผยด้วยว่า ปีนี้มหาเศรษฐี 50 ลำดับแรก มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นรวมกันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 9.15 แสนล้านบาท แม้ว่าประเทศไทยจะเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักก็ตาม
ที่มาข้อมูลจาก: Forbes, ประชาชาติ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: 10 อันดับ YouTuber รวยที่สุดในโลกประจำปี 2022
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: ปีนี้จะมีแฟนสาวสายเปย์! ส่อง 8 แอปฯ และเว็บหาคู่คนรวยที่ดีที่สุดสำหรับผู้ชาย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: ปีนี้ฉันจะมีแฟนรวย! ส่อง 5 แอปฯ และเว็บหาคู่คนรวยที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิง