นาทีนี้เปิด Facebook เล่นทีไรเป็นต้องเห็นเพจดังต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อน ๆ เล่นแปลงเนื้อเพลง “รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง” ของศิลปินยุค 80 “สาว สาว สาว” แต่ท่อนเพลงดังนี้กลายเป็นไวรัลดังบนโลกโซเชียลได้อย่างไร The Joi จะพาไปดูที่มาที่ไปกัน
จุดเริ่มต้นของการแปลงเนื้อเพลงท่อนฮิต “รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง” จนเป็นไวรัล เกิดจากเพจ Facebook “คำไทย” ได้โพสต์ข้อความชี้แจงคำไทยที่เขียนผิด ต้องเขียนให้ถูกต้องตามระบบของราชบัณฑิตยสถานอย่างไร ก่อนจะเขียนทิ้งท้ายด้วยท่อนเพลงฮิตดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565
ต่อมาเพจ Facebook ดังในไทยก็แห่ตั้งสเตตัสในทำนองเดียวกันกับเพจ Facebook “คำไทย” แต่เปลี่ยนคำและเนื้อหาที่จะสื่อให้สอดคล้องกับแบรนด์ตัวเอง เช่น
เพจ Facebook ของ “U.S. Embassy Bangkok”
เพจ Facebook ของ “Embassy of Sweden in Bangkok”
เพจ Facebook ของ “Kerry Express Thailand”
เพจ Facebook ของ “เกมเมอร์อมตีน”
เพจ Facebook ของ “Dairy Queen Thailand”
เพจ Facebook ของ “Burger King Thailand”
เพจ Facebook ของ “Flash Express”
เพจ Facebook ของ “Banana”
เพจ Facebook ของ “นันยาง Nanyang”
แต่ละเพจ Facebook หลังจากโพสต์ข้อความแปลงเนื้อเพลง “รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง” ก้ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตไทย เข้าไปกดไลก์ กดแชร์ และคอมเมนต์ใต้ข้อความกันเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่ศิลปิน “สาว สาว สาว” ก็โดดลงมาเล่นกับไวรัลดังนี้ด้วย!
สำหรับท่อนเพลงฮิต “รักไม่ใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง” ที่ชาวเน็ตต่างเอาไปเล่นกันต่อเป็นไวรัล ต้องเขียนหรือร้องจริง ๆ ว่า “รักมิใช่ดวงดาวเมื่อพราวแสง” แต่ด้วยเสียงคำว่า “มิ” และ “ไม่” ที่ใกล้เคียงกันก็ทำให้ผู้ฟังได้ยินผิดเพี้ยนไป โดยท่อนเพลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง “รักคือฝันไป” ของศิลปิน “สาว สาว สาว” เกิร์ลกรุ๊ปวงแรกของประเทศไทย ที่โด่งดังอย่างมากในยุค 80
แต่ด้วยเนื้อหาเพลงที่รักกุ๊กกิ๊ก ทำนองฟังแล้วติดหู ร้องง่าย ทำให้กลายเป็นเพลงไทยอีกเพลงหนึ่งที่คนไทยทุกยุคสมัยต้องร้องตามได้ และเพลงนี้ยังถูกนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่องอีกด้วย เช่น “แฟนฉัน”
ฟังเพลงเต็มของ “รักคือฝันไป” โดยต้นฉบับ “สาว สาว สาว” ที่นี่เลย
ที่มาข้อมูล: PPTV และ Facebook/คำไทย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เปิดที่มาของไวรัล “ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร” จากโคลงสี่สุภาพสู่โคลงสี่ไม่สุภาพในทวิตเตอร์!
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: “ครับมาแตล” คืออะไร? ทำไมชาวโซเชียล TikTok แห่รณรงค์ให้เลิกใช้ขานรับหรือเล่นมุก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เผยที่มา “คาถาหาที่จอดรถจักรกฤษณ์” ของ “พิมฐา” คืออะไร?