1. มาตรการเยียวยา “9 กลุ่มอาชีพ” ของประกันสังคม
1.1 ก่อสร้าง
1.2 ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
1.3 ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
1.4 กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
1.5 ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
1.6 ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
1.7 กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
1.8 กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
1.9 กิจการใน 5 กลุ่มของถุงเงิน ประกอบด้วย ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ร้าน OTOP, ร้านค้าทั่วไป, ร้านค้าบริการ และกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
รายละเอียด “มาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงาน-ผู้ประกอบการ แต่ละกลุ่มอาชีพ” มีดังนี้
- ลูกจ้าง ม.33 ใน 9 กลุ่มอาชีพ
ประกันสังคมจ่ายชดเชยเยียวยา เหตุสุดวิสัย 50% ของรายไต้ ให้ลูกจ้างโดยตรง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (สัญชาติไทย) อีก 2,500 บาทต่อคน
- นายจ้าง ม.33 ใน 9 กลุ่มอาชีพ
รัฐบาลจ่ายให้นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/หัว (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
- ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40
รัฐบาลช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน
- อาชีพอิสระ-ผู้ที่อยู่นอกระบบ ม.33
เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบการหรือ นายจ้าง ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบ
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือ คือ “นายจ้าง” จะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) และ “ลูกจ้างสัญชาติไทย” จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่มีลูกจ้าง
เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบการในระบบ”ถุงเงิน” ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ในปัจจุบันที่มีลูกจ้าง ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลจะจ่ายเงิน ช่วยเหลือ คือ “นายจ้าง” จะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน) และ “ลูกจ้างสัญชาติไทย” จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน
- ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะ ในปัจจุบันที่ไม่มีลูกจ้าง เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
2. มาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 ในพื้นที่ล็อกดาวน์ 10 จังหวัด ด้วยกรอบวงเงิน 12,000 ล้านบาท
มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
2.2 บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ในกรณีน้อยกว่าหรือเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง
2.3 กรณีใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ให้จ่ายเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ 2564
กรณีใช้ไฟ 501-1,000 หน่วยต่อเดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 บวกกับ 50 เปอร์เซ็นต์ ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564
และกรณีใช้ไฟมากกว่า 1,000 หน่วยต่อเดือน ให้จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 บวกกับ 70 เปอร์เซ็นต์ ของหน่วยไฟฟ้าที่เพิ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยคิดเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้า ก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4 กิจการขนาดเล็ก ไม่นับรวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
2.5 กิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะ องค์กรไม่แสวงหากำไรและการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ให้จ่ายค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจริง
2.6 ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ไม่นับรวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นระยะระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน 2564
ข้อมูลจาก: ฐานเศรษฐกิจ, The Matter
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: