เพื่อน ๆ The Joi อาจเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “หน้าตาดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” อยู่บ่อย ๆ และสิ่งนี้ก็เป็นใบเบิกทางชั้นดีให้คนกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จในการงานและความรัก แต่ที่ช็อกกว่าคือ “(ผู้กระทำผิด) คนหน้าตาดี” ยังได้เปรียบในกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย
เว็บไซต์ “The Law Project by Rod Hollier” เผยว่า ในงานวิจัยต่างประเทศหลายชิ้นพบว่า มนุษย์มักเอนเอียงให้กับ “คนหน้าตาดี” แม้เขาหรือเธอคนนั้นจะเป็น “คนร้าย” ก็ตาม โดยสัญชาตญาณมนุษย์มักคิดว่า คนหน้าตาดีเป็นคนดีและฉลาด และเมื่อพวกเขาเหล่านี้กระทำความผิด มนุษย์ก็มักจะมีความคิดขึ้นมาในหัวต่อว่า “คนหน้าตาดีจะเป็นคนร้ายได้จริงเหรอ? ไม่น่าเชื่อเลย…”
และมนุษย์บางคนยังเกิดความเห็นอกเห็นใจคนร้ายด้วย ไม่ว่าพวกเขากจะก่อคดีลหุโทษ หรือโทษเบา เช่น ลักทรัพย์, ทิ้งขยะในที่สาธารณะ, ฝ่าฝืนกฎจราจร เป็นต้น ไปจนถึงคดีอาญา ซึ่งมีโทษหนัก เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่นและฆาตกรรมอำพรางเหยื่อ เป็นต้น
The Joi ขอยกตัวอย่างเคสของ “คาเมรอน เฮอร์ริน (Cameron Herrin)” ผู้ต้องหาชาวอเมริกันวัย 21 ปี ซึ่งก่อเหตุซิ่งรถสปอร์ตหรูชนสองแม่ลูกจนเสียชีวิตเมื่อปี 2564 ใบหน้าที่หล่อเหล่าทะลุหน้ากากอนามัยได้สะกดตาสะกดใจสาว ๆ บนโลกโซเชียลจำนวนมาก ในวันที่อ่านคำพิพากษาหลายคนก็เดินทางไปให้กำลังใจเขาแบบตัวเป็น ๆ
@everything5555 ?????#foryou #fypシ #cameronharris
แต่สุดท้ายคนทำผิดก็ต้องรับโทษตามการกระทำของตนเอง “คาเมรอน เฮอร์ริน” ถูกตัดสินจำคุกนาน 21 ปี และนั้นทำให้สาวน้อยสาวใหญ่บนโลก TikTok ถึงกับเจ็บจี๊ดในหัวใจอย่างมาก และออกมาโพสต์คลิปบนแพลตฟอร์มดังกล่าว หรือทวีตข้อความบน Twitter ระบุไปในทำนองเดียวกันว่า “เขาหล่อและน่ารักเกินกว่าจะถูกจองจำเป็นเวลานาน” หรือบางคนก็ถึงกับบอกว่า “เขาไม่ได้ตั้งใจทำหรอก มันเป็นอุบัติเหตุ”
งานวิจัยฯ ในประเด็น “ความสวยความหล่อมีผลต่อกระบวนการยุติธรรมหรือไม่?” ได้อ้างอิงกลุ่มข้อมูลระดับใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จากการพิจารณาทั้งหมด 2,235 คดี ซึ่งในชั้นศาลของประเทศนี้ใช้ระบบลูกขุนในการพิจารณาคดี และมีมุมมองต่อรูปคดีจึงมีมากกว่าข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน, ภูมิหลัง และพฤติกรรมอื่น ๆ ของจำเลย ก็ยังพบว่า “จำเลยที่หน้าตาดีมีแนวโน้มจะถูกตัดสินโทษน้อยกว่า ในขณะที่ค่าปรับ และค่าประกันตัวของจำเลยที่หน้าตาไม่ดีมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่แน่นอนว่าพวกเขาทั้งหมดได้รับโทษ”
แม้ระบบการตัดสินในปัจจุบันจะไม่ได้ส่งให้เกิดการลำเอียงอันเนื่องมาจาก “อคติด้านความงาม (Beauty Bias)” จนเห็นผลชัดเจน แต่ในอดีตก็เคยมีการบันทึกเรื่องราวการตัดสินโทษโสเภณี “ฟรายนี (Phryne)” ที่มีรูปร่างหน้าตางดงามอย่างมากในสมัยกรีก โดยคณะลูกขุนได้ตัดสินให้เธอพ้นโทษ โดยให้เหตุผลว่า “เธอมีหน้าตางดงามดั่งของขวัญจากพระเจ้า”
ฟังแล้วเพื่อน ๆ อาจเศร้าและเห็นความอยุติธรรม ถ้าเราหน้าตาไม่ดีก็จะเจออะไรที่เลวร้ายกว่า แต่ ๆ ก็ใช่ว่า เราจะไม่สามารถเอาชนะอคติด้านความงามได้ เพราะการศึกษาจากนักจิตวิทยา “มาร์ค ดับเบิ้ลยู พาทรี (Mark W. Patry)” ในปี 2551 ได้เสนอว่า “การตัดสินโทษในห้องพิจารณาคดีสามารถเอาชนะอคติด้านความงาม/หน้าตาได้ ถ้าหากว่า ใช้เวลาในการพิจารณาความผิดมากขึ้น เพื่อความเที่ยงธรรม”
ที่มาข้อมูล: Big Think, New York Post และ The Law Project
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: นักสัตววิทยาเผยคำตอบ “ทำไมมนุษย์นมใหญ่กว่าสิ่งมีชีวิตอื่น?”
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: สระผมก็อ้วนได้! นักวิจัยนอร์เวย์พบ “ขวดแชมพู” ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: วิจัยต่างประเทศเผย คบสาวอวบอายุยืน ชีวิตแฮปปี้!