“สำนักพระราชวังบักกิงแฮม” ออกแถลงการณ์ว่า “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จสวรรคตอย่างสงบ ด้วยพระชนมายุ 96 พรรษา ณ พระตำหนักบัลมอรัลในสกอตแลนด์ เมื่อเวลาประมาณ 18:31 น. ของวันที่ 8 กันยายน 2565 ตามเวลาท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร หรือตรงกับวันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 00:31 น. ตามเวลาท้องถิ่นของไทย พระองค์เป็น “กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักร” ถึง 70 ปี
และนับแต่นี้เป็นต้นไป “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ จะทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสหราชอาณาจักรต่อจากพระมารดา โดยมีผลทันที และเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” หรือ “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” The Joi เลยจะพาเพื่อน ๆ ไปส่องภาพสำคัญในแต่ละปีของพระองค์ตลอดช่วงพระชนมายุ 96 พรรษา (พ.ศ. 2469-2565 หรือค.ศ. 1926-2022)
ประสูติเมื่อ 21 เมษายน 2549 เมื่อเวลา 02:40 น. ณ กรุงลอนดอนของอังกฤษ
ในรูปเผยให้เห็น “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” ขณะทรงเป็นเจ้าหญิงอยู่ในอ้อมกอดของพระมารดา และมีพระราชบิดาทรงยืนเคียงข้าง ต่อมาทั้งสองพระองค์คือ “สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5” กับ “สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ”
พ.ศ. 2470/ค.ศ. 1927: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เป็นพระราชธิดาพระองค์แรก และทรงได้รับการขนานนามว่า “เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี่ (Elizabeth Alexandra Mary)”
พระองค์ทรงถูกขนานนามว่า “เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี่” โดยชื่อแรกตั้งตามพระมารดา ชื่อกลางตั้งตาม “พระราชินีอเล็กซานดรา” ผู้ยิ่งใหญ่ และชื่อท้ายสุดตั้งตามพระอัยยิกา ณ โบสถ์ในส่วนพระองค์ของพระราชวังบักกิ้งแฮม ภาพถ่ายที่เพื่อน ๆ เห็นอยู่นี้ บันทึกไว้ได้ขณะที่ “เจ้าหญิงน้อยเอลิซาเบธ” กำลังนั่งรถในบริเวณปราสาทวินด์เซอร์ กับลูกพี่ลูกน้องของเธอ
พ.ศ. 2471/ค.ศ. 1928: ไม่มีใครคาดคิดว่า “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” จะทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
เกิดขึ้นหลังจาก “สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8” พระปิตุลาของ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ได้ทรงสละราชสมบัติ ทำให้พระองค์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “รัชทายาทโดยสันนิษฐาน” แห่งสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2472/ค.ศ. 1929: พระพี่เลี้ยงกำลังเข็นรถเข็นเด็กซึ่งมี “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงนั่งเล่นอยู่ในกรีนปาร์ค (Green Park)
ในภาพนี้พระองค์มีพระชนมายุ 3 พรรษา
พ.ศ. 2473/ค.ศ. 1930: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงศึกษาจากบ้าน โดยมีพระราชบิดาและพระครู “เฮนรี่ มาร์เตน (Henry marten)” แห่งอีตัน (Eton) เป็นผู้อบรบสั่งสอน
พระองค์ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสและใช้เวลาร่วมกับผู้ปกครองชาวฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม หากเพื่อน ๆ ติดตามข่าวของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศจะมีพระราชดำรัสเป็นภาษาฝรั่งเศสอยู่บ่อย ๆ
พ.ศ. 2474/ค.ศ. 1931: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” เริ่มออกงานสังคมเป็นครั้งแรก
ภาพด้านบนเผยให้เห็น “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” หรือสมเด็จพระราชินีนาถในอนาคต ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงในสวน ณ ปราสาทกลามิส ในเมืองแองกัสของสกอตแลนด์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2474 งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองงานแต่งงานของเอิร์ลและเคาน์เตสแห่งสตราธมอร์
พ.ศ. 2475/ค.ศ. 1932: เจ้าหญิงน้อยฝ่าสายฝนไปชมการแข่งขันกีฬา “Royal Tournament” ณ โอลิมเปีย (Olympia) ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ
พ.ศ. 2476/ค.ศ. 1933: เจ้าหญิงน้อยเล่นกับสุนัขทรงเลี้ยงหลายตัวของพระองค์
ภาพแสดงให้เห็นดยุคและดัชเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือ “พระเจ้าจอร์จที่ 6” และ “ควีนเอลิซาเบธ”) กับพระธิดาทั้งสองพระองค์ ได้แก่ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” และ “เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต (Margaret)”
พ.ศ. 2477/ค.ศ. 1934: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ”, “เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต” และดัชเชสแห่งยอร์ก เสด็จเข้าชมงานแสดงม้านานาชาติที่โอลิมเปีย ณ กรุงลอนดอนของอังกฤษ
พ.ศ. 2478/ค.ศ. 1935: แม้อายุเพียง 9 พรรษา แต่ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงโบกมือได้สวยงาม Born To Be Queen
พ.ศ. 2479/ค.ศ. 1936: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” มักทรงพาสุนัขทรงเลี้ยงไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) สม่ำเสมอ
พ.ศ. 2480/ค.ศ. 1937: ในปีนี้ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงลงพระนามเข้าร่วมกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ สำหรับเด็กผู้หญิงและสตรีที่สนใจ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ และศาสนา
ภาพครอบครัวของ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” (คนที่ 2 จากซ้าย) ทรงมีพระชนมายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2481/ค.ศ. 1938: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” และพระขนิษฐา ทรงเป็นคนรักสัตว์ และมักจะเสด็จไปร่วมงานแสดงและแข่งขันสัตว์ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง
พ.ศ. 2482/ค.ศ. 1939: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” และพระขนิษฐา เสด็จเข้าชมการแสดงว่ายน้ำที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth College) ในสหรัฐฯ
พ.ศ. 2483/ค.ศ. 1940: หนึ่งปีหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” พระชนมายุ 14 พรรษา เริ่มส่งสารแรกของพระองค์ทางรายการวิทยุเป็นครั้งแรก
สารแรกที่พระองค์ทรงดำรัสในครั้งนี้คือ ลูกหลานของเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ห่างจากครอบครัว ได้รับการอพยพไปยังที่ปลอดภัย และเมื่อสันติภาพมาถึง “ลูกหลานของเราในวันนี้จะทำให้โลกในวันพรุ่งนี้เป็นที่ที่ดีกว่าและมีความสุขมากขึ้น”
พ.ศ. 2484/ค.ศ. 1941: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงพูดคุยเกี่ยวกับละครใบ้กับพระมารดาและพระขนิษฐา
พ.ศ. 2485/ค.ศ. 1942: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” มักเสด็จไปเยี่ยมกองทัพและพูดคุยกับเหล่าทหารอยู่บ่อย ๆ
เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น “นายพันเอกของกองทัพบกเกรนาเดียร์” โดยพระบิดาของพระองค์เอง และในปี 2485 ได้ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก เพื่อตรวจสอบกองทัพในปีนั้น
พ.ศ. 2486/ค.ศ. 1943: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ช่วยเหลือประชาชนยามเกิดสงครามโลกในหลากหลายทาง เช่น ถักเสื้อผ้าให้คนยากไร้, บริจาคเงินเพื่อซื้อบุหรี่ให้กับกองทัพ และเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กที่ถูกอพยพมายังพื้นที่ปลอดภัย เป็นต้น
พ.ศ. 2487/ค.ศ. 1944: แม้ว่าพระองค์จะถูกพาไปยังพระราชวังวินเซอร์ เพื่อความปลอดภัยยามยังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ก็มักจะแวะไปทักทายกองทหาร ก่อนโจมตีข้าศึกเสมอ
พ.ศ. 2488/ค.ศ. 1945: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” และสมาชิกราชวงศ์ของพระองค์ทรงประทับริมระเบียงพระราชวังบักกิ้งแฮม และโบกมือทักทายประชาชนนับพัน หลังกองทัพเยอรมันประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2489/ค.ศ. 1946: “เจ้าชายฟิลิป” แห่งกรีซ ทรงทำหน้าที่นำทางและช่วยเหลือ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ด้วยการถือโค้ท ขณะพระองค์เสด็จร่วมงานแต่งงานของ “แพทริเซีย แคนเชบูลล์” เคานท์เตสที่ 2 เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
พ.ศ. 2490/ค.ศ. 1947: “เจ้าชายฟิลิป” และ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” เข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรส ซึ่งจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2490
พ.ศ. 2491/ค.ศ. 1948: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงพา “เจ้าชายชาร์ลส์” พระโอรสเข้าพิธีเป็นคริสตังครั้งแรก
พ.ศ. 2492/ค.ศ. 1949: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงอุ้มพระโอรสพระชนมายุ 8 เดือน ในเดือนกรกฎาคม 2492 ขณะเสด็จประทับที่เมืองแอสคอตเบิร์กเชียร์ของอังกฤษ
พ.ศ. 2493/ค.ศ. 1950: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” ทรงประสูติพระธิดา “เจ้าหญิงแอนน์ (Anne)” ในวันที่ 15 สิงหาคม 2493
พ.ศ. 2494/ค.ศ. 1951: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” และครอบครัวของพระองค์ใช้วันหยุดอย่างมีความสุข ณ พระตำหนักแคลเรนซ์
พ.ศ. 2495/ค.ศ. 1952: “พระเจ้าจอร์จที่ 6” ซึ่งเป็นพระบิดาของ “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” เสด็จสวรรคต
พ.ศ. 2496/ค.ศ. 1953: “เจ้าหญิงเอลิซาเบธ” เสด็จขึ้นครองราชย์ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2496 นับเป็นกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรลำดับที่ 39 ที่ทรงได้สมมงกุฎในโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
พ.ศ. 2497/ค.ศ. 1954: ในระหว่างที่ขึ้นครองราชย์ปีแรกในฐานะ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” พระองค์ได้พบปะกับรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ทั้งหมด 15 คนด้วยกัน
พ.ศ. 2498/ค.ศ. 1955: ในปีนี้ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศต่าง ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2499/ค.ศ. 1956: พระองค์และ “เจ้าชายฟิลิป” เสด็จเยือนประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ไกลโพ้นจากยุโรป เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในภาพ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงประทับบนที่นั่งข้างกษัตริย์แห่งไนจีเรีย
พ.ศ. 2500/ค.ศ. 1957: พระราชินีอังกฤษทรงถือกล้องถ่ายภาพโบราณทรงฉายพระรูปการแข่งขันม้าระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2501/ค.ศ. 1958: พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพบปะนักการเมืองและคนดังมากมาย
ในภาพด้านบน “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” พบกับ “เจย์น แมนส์ฟีลด์ (Jayne Mansfield)” นักแสดงและนางแบบเพลย์บอย ในงานเทศกาลภาพยนตร์ ที่จัดขึ้น ณ โรงภาพยนตร์โอเดียน (Odeon Theatre)
พ.ศ. 2502/ค.ศ. 1959: ในช่วงพระชนมายุของพระองค์ ทรงได้พบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคน ยกเว้นคนเดียวคือ “ลินดอน บี จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson.)
“สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงยืนถ่ายพระรูปร่วมกับ “เจ้าชายฟิลิป” พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาในพระองค์ กับประธานาธิบดีสหรัฐฯ “ไอเซนฮาวร์” ณ ปราสาทบัลมอรัล ในสกอตแลนด์
พ.ศ. 2503/ค.ศ. 1960: พระองค์ทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์อย่างมีความสุขกับพระสวามี, พระธิดา และพระโอรส ณ ปราสาทแบลมอรัล (อังกฤษ: Balmoral Castle) เป็นคฤหาสน์ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่ในมณฑลแอเบอร์ดีนเชอร์ ประเทศสกอตแลนด์
พ.ศ. 2504/ค.ศ. 1961: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” และพระสวามี ทรงพบปะเสวนากับประธานาธิบดี “จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (John F. Kennedy)” พร้อมด้วนภรรยา ณ พระราชวังบักกิ้งแฮม
หลังจากอดีตประธานาธิบดี “จอห์น เอฟ. เคนเนดี้” ถูกลอบสังหารในปี 2506 “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ถูกเชิญให้มาร่วมพิธีไว้อาลัยด้วย แต่เนื่องจากพระองค์ทรงตั้งครรภ์ “เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (Edward)” ทำให้ไม่สามารถเสด็จไปร่วมงานได้
พ.ศ. 2505/ค.ศ. 1962: พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรการแข่งขันม้า รอยัล แอสคอต กับพระมารดา
พ.ศ. 2506/ค.ศ. 1963: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” และ “เจ้าชายฟิลิป” เสด็จเยือนเมืองแอดิเลด ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย
มีประชาชนมารอต้อนรับทั้งสองพระองค์กว่า 90,000 คน บางคนเดินทางมาไกลหลายสิบกิโลเมตร เพื่อได้เห็น “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” และพระสวามีตัวเป็น ๆ
พ.ศ. 2507/ค.ศ. 1964: ขณะเสด็จเยือนแคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงตรัสกับสภานิติบัญญัติประจำรัฐควิเบกในเดือนตุลาคม 2507
พ.ศ. 2508/ค.ศ. 1965: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินร่วมไว้อาลัย “วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill)” รัฐบุรุษชาวอังกฤษ อดีตนายกรัฐมนตรีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
พิธีไว้อาลัยของรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้นี้จัดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2508
พ.ศ. 2509/ค.ศ. 1966: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงมอบถ้วยฟุตบอลโลก “จูลส์ ริเมต์ (Jules Rimet)” แก่กัปตันทีมชาติอังกฤษ ชื่อว่า “บ็อบบี้ มัวร์ (Bobby Moore)” เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2509
นี่เป็นถ้วยฟุตบอลโลกถ้วยแรกและถ้วยเดียวที่อังกฤษเคยได้รับจากการแข่งขันฟุตบอลโลกชนะ
พ.ศ. 2510/ค.ศ. 1967: ในระหว่างที่เสด็จเยือนประเทศแคนาดา 6 วัน สมเด็จพระราชินีได้ประทับรถไฟฟ้า “Expo 67” ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการรถไฟ
พ.ศ. 2511/ค.ศ. 1968: เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของกองทัพอากาศอังกฤษ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” และ “ดยุกแห่งเอดินบะระ” ได้เสด็จเยือนฐานทัพอากาศหลวงในเมืองเอบิงดอน (Abingdon) ของอังกฤษ
พ.ศ. 2512/ค.ศ. 1969: ตลอดช่วงระยะเวลาครองการครองราชสมบัติ พระองค์ได้พบกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลกมากมาย
ภาพด้านบน “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงพบชายที่เหยียบดวงจันทร์ได้เป็นคนแรก “นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong)”, “ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins)” และ “เอ็ดเวิร์ด “บัซ” อัลดริน” ที่พระราชวังบักกิ้งแฮม
พ.ศ. 2513/ค.ศ. 1970: สมเด็จพระราชินีฯ แห่งอังกฤษ ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ “ริชาร์ด นิกซัน (Richard Nixon)” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสุภาพสตรีหมายเลข 1
พ.ศ. 2514/ค.ศ. 1971: “สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ” เสด็จพระราชดำเนินเยือนอังกฤษเป็นเวลา 4 วัน
เนื่องในโอกาสพิเศษดังกล่าว “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงประทับรถม้าเปิดหลังคาผ่านประตูพระราชวังบักกิ้งแฮม เพื่อไปยังสถานีวิกตอเรีย
พ.ศ. 2515/ค.ศ. 1972: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เยือนประเทศในทวีปเอเชีย
พ.ศ. 2516/ค.ศ. 1973: พระองค์และพระสวามีเสด็จเยือนประเทศแคนาดาอีกครั้ง ทรงเข้าร่วมชมงานนิทรรศการ “แคนาดาในวันวาน (Old Canada)” ที่ไฮปาร์ค (High Park) รัฐโตรอนโต
พ.ศ. 2517/ค.ศ. 1974: สมเด็จพระราชินีและพระสวามีทรงฉายพระรูปร่วมกับกษัตริย์ของมาเลเซียที่โรงแรมคลาริดจ์ (Claridge) กรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2517
พ.ศ. 2518/ค.ศ. 1975: “บาร์บารา สไตรแซนด์ (Barbara Streisand)” พบ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2”
ทั้งสองพบกันหลังจบการแสดงละครเพลงเรื่อง “Funny Lady” ซึ่งนักแสดงสาว “บาร์บารา” เป็นตัวเอกของเรื่อง
พ.ศ. 2519/ค.ศ. 1976: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงเต้นรำกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ “เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford)” ระหว่างเสด็จเยือนแดนลุงแซม ซึ่งจัดขึ้นในทำเนียบขาว
พ.ศ. 2520/ค.ศ. 1977: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2″ เฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 25 ปี
พ.ศ. 2521/ค.ศ. 1978: สมเด็จพระราชินีทรงตรวจตราองครักษ์ของราชวงศ์อังกฤษ ณ พระราชวังบักกิ้งแฮม
พ.ศ. 2522/ค.ศ. 1979: ในรัชสมัยของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” พระองค์ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะเยือนประเทศในทวีปตะวันออกกลางอยู่บ่อยครั้ง
พ.ศ. 2523/ค.ศ. 1980: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เยือนวาติกันครั้งแรก
พ.ศ. 2524/ค.ศ. 1981: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จร่วมงานพิธีราชาภิเษกสมรสของ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” และ “เจ้าหญิงไดอาน่า”
พิธีราชภิเษกสมรสระหว่าง “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” กับ “เจ้าหญิงไดอาน่า” เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 คาดว่า มีผู้คนทั่วโลกกว่า 750 ล้านคน ชมการถ่ายทอดสดเหตุการณ์สำคัญนี้
พ.ศ. 2525/ค.ศ. 1982: สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษทรงต้อนรับการมาเยือนของ “โป๊บจอห์น ปอล ที่ 2”
“สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2” เป็นโป๊บพระองค์แรกที่เดินทางเยือนอังกฤษ
พ.ศ. 2526/ค.ศ. 1983: “แม่ชีเทเรซา” แห่งกัลกัตตา หนึ่งในบุคคลสำคัญทางศาสนาที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติมศักดิ์จาก “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ณ กรุงนิวเดลีของอินเดีย
พ.ศ. 2527/ค.ศ. 1984: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินตรวจตรากองทหารปืนใหญ่ในดอร์ทมุนด์ของเยอรมนี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2527
พ.ศ. 2528/ค.ศ. 1985: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เยือนสำนักพิมพ์ “Times of London” เพื่อทอดพระเนตรการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับเดือนมีนาคม 2528 ซึ่งเป็นฉบับครบรอบ 200 ปี
พ.ศ. 2529/ค.ศ. 1986: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จเยือนประเทศจีน และทรงพบปะกับประธานาธิบดี “หลี่เซียนเหนียน (Li Xiannian)”
พ.ศ. 2530/ค.ศ. 1987: “กษัตริย์ฟาฮาดบินอับดุลอาซิซ (King Fahd)” แห่งซาอุดิอาระเบียน เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2531/ค.ศ. 1988: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเนเธอร์แลนด์ในโอกาสเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศครบ 300 ปี
พ.ศ. 2532/ค.ศ. 1989: เสด็จพระราชดำเนินเยือนมัสยิดสุลต่านซาลาฮุดดินอับดุลอาซิซชาห์ในมาเลเซีย
พ.ศ. 2533/ค.ศ. 1990: ราชวงศ์อังกฤษชมเครื่องบินคงที่ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษาของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” จากระเบียงพระราชวังบักกิ้งแฮม
พ.ศ. 2534/ค.ศ. 1991: ประธานาธิบดี “จอร์จ เอช.ดับเบิ้ลยู. บุช (George H.W. Bush)” ต้อนรับสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและพระสวามีที่สนามกีฬาเมโมเรียลสเตเดี้ยม ในรัฐบัลติมอร์ของสหรัฐฯ
พ.ศ. 2535/ค.ศ. 1992: พระราชวังวินเซอร์ลุกเป็นไฟ ทำให้ห้องโถงและห้องยิบย่อยอื่น ๆ อีกมากกว่า 100 ห้อง ได้รับความเสียหาย คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 37 ล้านปอนด์หรือราว 1.55 พันล้านบาท
พ.ศ. 2536/ค.ศ. 1993: พระมารดาของ “สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2” ทรงเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติ 93 พรรษา ณ คลาเรนซ์เฮาส์ ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ
และในปีเดียวกันนี้ พระราชวังบักกิ้งแฮมก็เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมได้เป็นครั้งแรกอีกด้วยนะเพื่อน ๆ
พ.ศ. 2537/ค.ศ. 1994: อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ ซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 50.5 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยมี “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” และประธานาธิบดีฝรั่งเศส “ฟร็องซัว มีแตร็อง (François Mitterrand)” ร่วมพิธีเปิดใช้การอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2538/ค.ศ. 1995: ประธานาธิบดีสหรัฐฯ “บิล คลินตัน (Bill Clinton)” และสุภาพสตรีหมายเลข 1 “ฮิลลารี่ (Hillary)” เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีอังกฤษ ณ กรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538
พ.ศ. 2539/ค.ศ. 1996: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินวางดอกไม้ร่วมไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ดันเบลน (Dunblane Massacre)
พ.ศ. 2540/ค.ศ. 1997: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ร่วมแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ “เจ้าหญิงไดอาน่า” หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส
พ.ศ. 2541/ค.ศ. 1998: เฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง หรือพระมารดาของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ซึ่งมีพระชนมายุ 98 พรรษา
พ.ศ. 2542/ค.ศ. 1999: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม “ลิซ แมคกินนิส (Liz McGinnis)” และ “ซูซาน แมคคาร์รอน (Susan McCarron)” ที่สมาคมการเคหะในกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพระราชดำริของพระองค์ที่มีพระประสงค์ที่จะพบปะกับสาธารณชนอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น
พ.ศ. 2543/ค.ศ. 2000: เฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งราชวงศ์อังกฤษ เจริญพระชนมายุ 100 พรรษา ณ พระราชวังบักกิ้งแฮม
พ.ศ. 2544/ค.ศ. 2001: มีพระราชสาสน์แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 9/11
พ.ศ. 2545/ค.ศ. 2002: สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงหรือพระมารดาของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จสวรรคต
พ.ศ. 2546/ค.ศ. 2003: ประธานาธิบดีรัสเซีย “วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin)” เดินทางเยือนอังกฤษเป็นครั้งแรก และเข้าเฝ้า “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2”
พ.ศ. 2547/ค.ศ. 2004: เนื่องในวาระครบรอบการสิ้นพระชนม์ของ “เจ้าหญิงไดอาน่า” ได้มีการสร้างน้ำพุที่ระลึกในสวนสาธารณะไฮด์ปาร์คในกรุงลอนดอนของอังกฤษ
พ.ศ. 2548/ค.ศ. 2005: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 52 คน และในปีเดียวกันนี้ “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกสมรสกับ “คามิลล่า (Camilla)”
พ.ศ. 2549/ค.ศ. 2006: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติ พระชนมายุ 80 พรรษา
พ.ศ. 2550/ค.ศ. 2007: “สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2” และ “เจ้าชายฟิลิป” เสด็จเยือนทำเนียบขาว เพื่อร่วมรับประทานอาหารในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปี ซึ่งปีนี้เจ้าภาพคือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ “จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (George W. Bush)” และสุภาพสตรีหมายเลข 1 “ลอร่า บุช (Laura Bush)”
พ.ศ. 2551/ค.ศ. 2008: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงของประธานาธิบดี “นิโคลาส์ ซาร์โกซี่ (Nicolas Sarkozy)” ของฝรั่งเศส
พ.ศ. 2552/ค.ศ. 2009: สุภาพสตรีหมายเลข 1 “มิเชล โอบามา (Michelle Obama)” โอบกอด “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ระหว่างถ่ายรูปคู่
พ.ศ. 2553/ค.ศ. 2010: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” และพระโอรส “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์” เสด็จร่วมงานการแข่งขันกีฬา “The Games”
พ.ศ. 2554/ค.ศ. 2011: ทรงร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีเสกสมรสระหว่าง “เจ้าชายวิลเลียม” กับ “แคเธอริน มิดเดิลตัน (Kate Middleton)“
พ.ศ. 2555/ค.ศ. 2012: เป็นปีที่ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” มีงานเฉลิมฉลองที่ต้องทรงเข้าร่วมมากมาบ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งอังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และการเฉลิมฉลองเพื่อแสดงการครบรอบ 60 ปี เป็นต้น
คาดกันว่า มีประชาชนมาร่วมแสดงความยินดีกับ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ที่ครองราชย์ครบ 60 ปี บนท้องถนนในกรุงลอนดอนกว่า 1.2 ล้านคน
พ.ศ. 2556/ค.ศ. 2013: “มาลาลา ยูซาฟไฟ (Malala Yousafzai)” พบสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษที่พระราชวังบักกิ้งแฮม
พ.ศ. 2557/ค.ศ. 2014: เสด็จทอดพระเนตรดอกป๊อบปี้เซรามิคจำนวนทั้งหมด 888,246 ดอก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Blood Swept Lands and Seas of Red” ณ หอคอยแห่งลอนดอน เมื่อเดือนตุลาคม 2557 เพื่อรำลึกถึงทหารอังกฤษที่พลีชีพในสงคราม
พ.ศ. 2558/ค.ศ. 2015: สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษทอดพระเนตรผลงานหุ่นยนต์ตัวเล็กที่กำลังเต้น ณ มหาวิทยาลัยเทคนิค ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี โดยมีนายกรัฐมนตรีหญิง “แองเกล่า แมร์เคิล (Angela Merkel)” คอยติดตาม
พ.ศ. 2559/ค.ศ. 2016: ราชวงศ์อังกฤษร่วมกันถ่ายภาพลง “Royal Mail” เนื่องในวันเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติครบรอบ 90 พรรษา ของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2”
พ.ศ. 2560/ค.ศ. 2017: สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษทรงยกพระหัตถ์ทักทายผู้มาร่วมงานฉลองวันอีสเตอร์ ณ โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George) ในพระราชวังวินด์เซอร์
พ.ศ. 2561/ค.ศ. 2018: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงร่วมถ่ายภาพในพระราชพิธีเสกสมรสระหว่าง “เจ้าชายแฮร์รี่” กับ “เมแกน มาร์เคิล (Meghan Markle)” ณ พระราชวังวินด์เซอร์ ในเดือนพฤษภาคม 2561
พ.ศ. 2562/ค.ศ. 2019: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” ทรงปรากฏตัวในที่สาธารณะอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 2562 ภาพที่เห็นพระองค์เสด็จขึ้นประทับรถพระที่นั่งหลังประกอบพิธีทางศาสนา ณ โบสถ์เซนต์แมรี่ แม็กดาลีน (St Mary Magdalene)
พ.ศ. 2563/ค.ศ. 2020: เป็นครั้งสุดท้ายที่ประชาชนได้เห็น “เจ้าชายแฮร์รี่” และ “เมแกน มาร์เคิล” ปรากฏร่วมเฟรมกับสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ ก่อนสละฐานันดรและย้ายไปอาศัยในสหรัฐฯ
พ.ศ. 2564/ค.ศ. 2021: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เสด็จร่วมพิธีไว้อาลัย “เจ้าชายฟิลิป” ที่เสด็จสวรรคตอย่างสงบเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 ด้วยพระชนมายุ 99 พรรษา
พ.ศ. 2565/ค.ศ. 2022: “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” เผยภาพพระฉายาลักษณ์ทางการในการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี หรือการครองราชย์ครบรอบแพลทินัม (Platinum Jubilee)
ที่มาข้อมูล: Insider
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: หนูน้อยได้รับคำชมจากควีนเอลิซาเบธ หลังแต่งตัวเลียนแบบควีนในวันฮาโลวีน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เผย 10 อันดับราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกประจำปี 2022
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เผย 10 เจ้าหญิงและเจ้าชายที่สละฐานันดรศักดิ์ออกจากราชวงศ์ เพื่อความรัก อิสรภาพและเหตุผลแปลก ๆ