วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เดลี่เมล รายงานว่า ด.ญ.โรมีนา อัชราฟี อายุ 13 ปี ชาวอิหร่าน ถูกพ่อบังเกิดเกล้าใช้เคียวทำไร่ฆ่าตัดหัวขณะที่นอนหลับในบ้านพัก ในพื้นที่เขตฮาวิก เทศมณฑลทาเลช จังหวัดกีลอน ทางเหนือของอิหร่าน
ตามรายงานของ อิหร่าน อินเตอร์เนชั่นแนล สื่ออิหร่าน รายงานว่า ด.ญ.โรมีนา ถูกฆ่าในรูปแบบของการลงโทษ (punishment) โดยเธอวางแผนที่จะหนีตามชายอายุ 28 ปี ที่เธอตกหลุมรัก ซึ่งพ่อของ ด.ญ.โรมีนา ไม่พอใจต่อแผนการแต่งงานของพวกเขาทั้งคู่ ก่อนที่ทั้งคู่จะหนีตามกันไปนั้น ทั้งสองครอบครัวได้แจ้งความกับตำรวจ และพาตัว ด.ญ.โรมีนา กลับบ้านได้ในที่สุด
โรมินา วัย 14 ปี
ตำรวจส่งตัวโรมินากลับบ้าน เด็กสาวรู้ดีว่าเธออาจถูกทำร้ายหรือถูกฆ่าได้ จึงวิงวอนตำรวจว่าอย่าส่งเธอกลับบ้านเลย เพราะเธอจะตกอยู่ในอันตราย แต่ตำรวจไม่ฟังคำขอร้องของเธอ
โรมินากับบาห์มาน แฟนของเธอ
เมื่อโรมินากลับมาอยู่บ้านแล้ว พ่อพยายามโน้มน้าวแม่ให้ไปบอกโรมินาให้แขวนคอตัวเองเสีย แต่แม่ร้องไห้และปฏิเสธ ต่อมาพ่อไปซื้อยาเบื่อหนูมาแล้วส่งให้โรมินา บอกให้เธอเอาไปกินเพื่อฆ่าตัวตายซะ ไม่อย่างนั้นพ่อจะลงมือเอง แต่โรมินาไม่ยอมทำ
วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ขณะที่โรมินากำลังนอนหลับอยู่ในห้องกับน้องชาย และแม่กำลังซักเสื้อผ้าอยู่ในห้องซักล้าง พ่อของเธอแอบล็อกประตูห้องซักล้างจากด้านนอก เพื่อขังแม่ไว้ในนั้น ก่อนจะถือเคียวทำไร่เดินเข้าไปในห้องที่โรมินานอนอยู่อย่างเงียบเชียบ เมื่อแม่รู้ว่าตัวเองถูกขังอยู่ในห้องซักล้าง เธอรู้ทันทีว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น แม่กรีดร้องและทุบประตู พยายามร้องเรียกสามีและลูกสาวสุดเสียง
เมื่อแม่ออกจากห้องมาได้ ก็พบว่าสามีของเธอได้ตัดคอลูกสาวเสียแล้ว เขาทำทั้งที่ลูกหลับอยู่ แล้วยังมีลูกชายวัย 6 ขวบนอนอยู่ข้าง ๆ พี่สาวด้วย เมื่อลูกสิ้นใจแล้ว ส่วนพ่อของ ด.ญ.โรมีนา ได้เข้ามอบตัว ทั้งที่มือยังถือเคียวเปื้อนเลือด
โดยขณะนี้ พ่อของผู้ตายกำลังอยู่ระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนในคดีนี้ โดยนางมาซูเมห์ เอบเตการ์ รองประธานกิจการสตรีของอิหร่าน ได้ประกาศคำสั่งพิเศษเพื่อสอบสวนในคดีนี้อีกด้วย ทั้งนี้ อิหร่าน อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่า หากถูกตัดสินว่ามีความผิด พ่อของผู้ตายจะต้องโทษจำคุกมากกว่า 10 ปี
อย่างไรก็ตาม พ่อของผู้ตายอาจพ้นผิดในคดีดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นผู้ปกครองของผู้ตายคือ ด.ญ.โรมีนา และตามประมวลกฎหมายอิสลามระบุว่า ผู้ก่อเหตุได้รับการยกเว้น กิศอศ (Qisas) หรือการชดเชยความผิด ซึ่งกฎหมายอิสลาม หรือชาเรีย บัญญัติว่า มีเพียงเจ้าของสายเลือด-สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ประหารชีวิตญาติของตัวเอง ซึ่งหมายความว่า การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับโทษใด ๆ เนื่องจากครอบครัวมักไม่ต้องการให้คนในบ้านถูกตัดสินโทษประหารชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม