ถึงสิ้นเดือนหรือต้นเดือนทีไร เปิดแอปพลิเคชันธนาคารไทยเพื่อใช้งานเป็นต้องล่มทุกที จนผู้ใช้บริการธนาคารต้องหัวเสีย เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ “แอปฯ Mobile Banking ที่ล่มบ่อยที่สุดในครึ่งปีแรก 2565 (มกราคมถึงมิถุนายน 2565)” จากการรวบรวมสถิติข้อมูลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยกัน (ธปท.) จะเป็นแอปฯ ใด? ตาม The Joi ไปดูกันเลย
อันดับ 1 “ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB)” ล่ม 12 ครั้ง รวม 38 ชั่วโมง (เฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาที/ครั้ง)
อันดับ 2 “ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)” ล่ม 8 ครั้ง รวม 7 ชั่วโมง (เฉลี่ย 52.5 นาที/ครั้ง)
อันดับ 3 “ธนาคารกรุงเทพ (BBL)” ล่ม 3 ครั้ง รวม 22 ชั่วโมง (เฉลี่ย 7 ชั่วโมง 20 นาที/ครั้ง)
อันดับ 4 “ธนาคารกรุงไทย (KTB)” ล่ม 3 ครั้ง รวม 5 ชั่วโมง (เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 40 นาที/ครั้ง)
อันดับ 5 “ธนาคารกรุงศรี (BAY)” ล่ม 1 ครั้ง รวม 4 ชั่วโมง (เฉลี่ย 4 ชั่วโมง/ครั้ง)
อันดับ 6 “ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT)” ล่ม 1 ครั้ง รวม 2 ชั่วโมง (เฉลี่ย 2 ชั่วโมง/ครั้ง)
อันดับ 7 “ธนาคารซิตี้ (CITI)” ล่ม 1 ครั้ง รวม 2 ชั่วโมง (เฉลี่ย 2 ชั่วโมง/ครั้ง)
อันดับ 8 “ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)” ล่ม 1 ครั้ง น้อยกว่า 1 ชั่วโมง (เฉลี่ยน้อยกว่า 1 ชั่วโมง/ครั้ง)
เมื่อเทียบกับข้อมูลปีที่แล้ว (2564) พบว่า เพียงครึ่งปีนี้ “ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB)” ล่มไปด้วยระยะเวลาสูงกว่า “ธนาคารกรุงศรี (BAY)” ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของปีที่แล้วทั้งปี (ระยะเวลาล่มทั้งหมดเกือบ 29 ชั่วโมง) ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วน “ธนาคารกรุงศรี (BAY)” ก็มีการพัฒนาที่ดีขึ้นโดยล่มนาน 4 ชั่วโมงเพียงครั้งเดียว ขณะที่ “ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)” นั้นยังคงมีอัตราระบบมีปัญหาน้อยมาก อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูในครึ่งปีหลังกันว่า อันดับจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
จากสถิติข้อมูลของ “ธนาคารโลก (World Bank)” แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้มีบัญชีผู้ใช้งานแอปฯ ธนาคารหรือบริการทางการเงินทุกคนเหมือนกับประเทศไอซ์แลนด์และเดนมาร์ก แต่ก็พบว่า “ไทยมีประชากรที่เข้าถึงบริการธนาคารบนมือถือ (Mobile Banking) เกือบ 96%” ดังนั้น หากแอปฯ Mobile Banking เหล่านี้ไม่สามารถให้บริการ หรือระบบล่มยาว ก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานของประชาชนได้
ที่มาข้อมูล: ธนาคารแห่งประเทศไทย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: เปิดอันดับธนาคารไทยที่ครองแชมป์ระบบล่มบ่อยสุดในปี 2564!
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: สายตี้ต้องมี! แนะนำ 4 แอปพลิเคชัน/เว็บไซต์หารค่าอาหาร กินไม่เท่ากันก็ไม่ใช่ปัญหา!
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: งานเกือบเข้า! “Ryan Coogler” ผู้กำกับหนังดัง “Black Panther” ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโจรปล้นธนาคาร!