ดราม่า “ยกเลิกสินสอด” ของ “ก้อย-อรัชพร โภคินภากร” นักแสดงสาวเก่งแห่งวงการบันเทิงไทยอีกคนหนึ่ง ที่ระบุใน IG Story ของตัวเอง @goyyog ว่า “ส่วนตัวคิดว่าควรยกเลิกระบบสินสอดค่ะ แนวคิดการวัดค่าผู้หญิงด้วยเงินจะได้หมดไปสักที น่ารำคาญค่ะ” เหมือนจะแผ่วไปตามกาลเวลา ท่ามกลางข่าวการเมืองและวัคซีนโควิด-19 แต่ก็ไม่วายกลับมาเป็นเรื่องเม้าท์ของชาวโซเชียลอีกครั้งแซงหน้าข่าวบันเทิงอื่น ๆ ในวันนี้ (17 สิงหาคม 2564)
“ลีน่า จัง” แนะ “ก้อย” กลับไปคิดใหม่เรื่อง “ยกเลิกสินสอด”
เมื่อ “ลีน่า จัง” หรือ “ลีน่า จังจรรยา” ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ระบุว่า…
“ที่ก้อยบอกว่า ให้กฎหมายยกเลิกสินสอด เพราะทำให้ผู้หญิงถูกตีราคาด้วยเงิน พ่อแม่เลี้ยงเรามาจนถึงขนาดนี้ ลูกออกเรือนไปก็เป็นของคนอื่น จะหวังพึ่งได้หรือเปล่า ก็จะมาได้สินสอดที่เขามาขอลูกเก็บไว้กินใช้ยามแก่ ทำงานไม่ไหว ก้อยกลับไปคิดใหม่
อย่าไปคิดว่า สินสอดทำให้ผู้ชายตีราคาผู้หญิงแค่เงิน ผู้หญิงทุกคนไม่ได้เก่งเหมือนก้อย หาเงินได้เยอะเหมือนก้อยนะ แต่มีผู้หญิงอีกเยอะ ที่เขาไม่มีความสามารถแบบก้อย อย่างน้อย ๆ ค่าสินสอด ตัวเองออกไปอยู่กับผู้ชาย ก็ไม่มีปัญญามาเลี้ยงดูพ่อแม่ ต้องไปมีลูกมีครอบครัว สินสอดก็เป็นค่าเลี้ยงดูที่พ่อแม่เลี้ยงดูเรามา แล้วให้พ่อแม่ไว้กินไว้ใช้ยามแก่ ก้อยเอากลับไปคิดใหม่”
ที่มาและประโยชน์ของ “สินสอด”
จากประเด็นดราม่าของ “ก้อย อรัชพร” The Joi เลยรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ที่มาที่ไปของ วัตถุประสงค์ รวมถึงประโยชน์ของ “สินสอด” มาฝากทุกคน เพื่อใช้ประกอบกับการพิจารณาความเห็นของเหล่าดาราคนดัง หรือของเพื่อน ๆ คนรอบตัวที่มีต่อ “สินสอด” อย่างมีเหตุมีผล
“สินสอด” แท้จริงแล้วคืออะไร?
“สินสอด” คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมอบให้กับครอบครัวของเจ้าสาวในพิธี เพื่อเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ใจและตอบแทนต่อครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาวที่เรากำลังไปสู่ขอ มักมาคู่กับคำว่า “ทองหมั้น” ที่หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เพื่อมอบให้กับเจ้าสาวไว้เป็นทรัพย์สินและหลักประกันหลังจากแต่งงาน
ที่มาของสินสอดทองหมั้น เกิดจากสมัยก่อนที่ยังไม่มีการสื่อสารที่ทำให้รู้จักคนได้มากนัก การแต่งงานระหว่างชายหญิงจึงไม่ได้เกิดจากความรัก แต่เกิดจากการคลุมถุงชนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้ผู้หญิงเป็นหม้ายขันหมาก สินสอดจึงเป็นเหมือนเครื่องมัดจำสำหรับฝ่ายชายว่าจะไม่เบี้ยวในพิธีแต่งงานนั่นเอง
ประโยชน์ของสินสอด
1. เป็นหลักประกันของผู้หญิง
เป็นการสร้างความอุ่นใจกับครอบครัวฝั่งเจ้าสาว จึงมีการมอบทรัพย์สินไว้เพื่อเป็นหลักประกัน รวมถึงในภายภาคหน้า หากเกิดการหย่าร้าง หรือฝ่ายชายเสียชีวิตหลังอยู่กินด้วยกันไป ฝ่ายหญิงก็จะได้มีเงินทุนไว้เลี้ยงดูตัวเองต่อได้ทันที
2. เป็นแรงจูงใจในการแต่งงาน
เนื่องจากความไม่สมดุลของอัตราส่วนชายและหญิงในสังคมไทย การที่มีอัตราส่วนผู้ชายมากกว่า ทำให้เกิดการแย่งคู่สมรสกันเกิดขึ้นได้ การแข่งขันกัน เพื่อได้ครอบครองพิธีแต่งงานจึงได้เกิดขึ้นผ่านการจูงใจฝ่ายหญิง ให้ยอมสมรสกับตนด้วยหลักทรัพย์เงินทองที่มี รวมถึงการที่มีหลักทรัพย์มาก ก็เป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้ใหญ่ในยุคที่มีการคลุมถุงชน และเป็นการสร้างสถานภาพทางสังคมได้อย่างชัดเจน หากคนมีฐานะมาสู่ขอก็จะได้เป็นเศรษฐี กลับกันหากได้ผู้ชายฐานะยากจน สถานภาพทางสังคมก็จะตกรองลงมา
3. ชดเชยครอบครัวเจ้าสาว
ที่มาข้อมูล The Bangkok Insight และ INN News