การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตกเป็นขี้ปากชาวเน็ตยับ! หลังเมื่อวานนี้ (9 กันยายน 2564) มีข่าวแพร่หลายบนโลกโซเชียลจนเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ว่านำเศษเหล็กรถไฟเก่าของญี่ปุ่น มาทิ้งเป็นขยะในเมืองไทย เป็นของเหลือใช้ที่ไทยจะนำเข้ามาทำไม เพราะไม่คุ้มค่า คุ้มราคา หรือไม่ก็ประชดว่า ไทยเรานำเข้ามา เพื่อจะแยกส่วนเป็นเศษเหล็กชั่งกิโลขาย
ในวันนี้ (10 กันยายน 2564) รฟท. ไม่ทนออกมาสยบดราม่าที่ว่ากันให้แซ่ดบนโลกออนไลน์ โดย “นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์” ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงกรณีการออกประกาศจัดจ้างขนย้ายรถดีเซลรางจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน หรือที่ชาวเน็ตเรียกว่า “รถไฟเก่า” หรือ “รถไฟมือสอง” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ว่าเป็นการนำตู้โดยสารดังกล่าว มาปรับปรุงและใช้งานใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างรฟท. และบริษัท JR Hokkaido ของญี่ปุ่น ในการส่งมอบให้กับประเทศไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรฟท. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น
ในวันนี้ (10 กันยายน 2564) รฟท. ไม่ทนออกมาสยบดราม่าที่ว่ากันให้แซ่ดบนโลกออนไลน์ โดย “นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์” ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงกรณีการออกประกาศจัดจ้างขนย้ายรถดีเซลรางจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน หรือที่ชาวเน็ตเรียกว่า “รถไฟเก่า” หรือ “รถไฟมือสอง” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ว่าเป็นการนำตู้โดยสารดังกล่าว มาปรับปรุงและใช้งานใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างรฟท. และบริษัท JR Hokkaido ของญี่ปุ่น ในการส่งมอบให้กับประเทศไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรฟท. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น
และจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้นอยู่ในสภาพดี สามารถนำมาใช้งานได้ แม้จะเป็นตู้โดยสารที่ถูกปลดระวางในปี 2559 แต่ได้รับการดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ต่อจากนี้ รฟท. จะนำไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และระบบรางของไทย เบื้องต้นคาดว่า จะนำรถไฟเก่ามาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในช่วงปี 2565
ด้านเพจเฟซบุ๊ก “Thailand Transportation“ ก็ได้ออกมาโพสต์ว่า ตัวเองเพิ่งเคยนั่งรถไฟรุ่นนี้เมื่อปี 2559 ยันว่ายังคงเป็นรถไฟที่มีสภาพดี แต่การที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย เพราะเขามีรุ่นใหม่มาแทนที่ ดังนั้นการที่ไทยได้รถไฟมือ 2 รุ่นนี้ มาแบบฟรี ๆ โดยเสียเฉพาะค่าขนย้าย ถือเป็นของดี ราคาถูกมาก หากเทียบกับการซื้อมือ 1 ที่ต้องจ่ายสูงถึง 510-560 ล้านบาท (ราคารวมทั้งหมด 17 คันแล้ว)
ส่วนใครที่ยังกังวลเรื่องรฟท. ใช้งบสิ้นเปลือง หรือกังวลว่า รถไฟเก่าดังกล่าวจะไม่ปลอดภัย ก็คงอุ่นใจกันแล้ว และรอนั่งเที่ยวในปีหน้ากันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : เปิด 5 เส้นทางนั่งรถไฟเที่ยว วิวสวย ราคาถูก หยุดวันเดียวก็เที่ยวได้!
ที่มาข้อมูล ผู้จัดการออนไลน์และข่าวสด